My Details

วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ภูมิปัญญาไทย การแพทย์แผนไทย การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

ภูมิปัญญาไทย หมายถึง ความรู้ความสามารถ วิธีการผลงานที่คนไทยได้ค้นคว้า รวบรวม และจัดเป็นความรู้ ถ่ายทอด ปรับปรุง จากคนรุ่นหนึ่งมาสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง จนเกิดผลิตผลที่ดี งดงาม มีคุณค่า มีประโยชน์ สามารถนำมาแก้ปัญหาและพัฒนาวิถีชีวิตได้แต่ละหมู่บ้าน แต่ละชุมชนไทย ล้วนมีการทำมาหากินที่สอดคล้องกับภูมิประเทศ มีผู้นำที่มีความรู้ มีฝีมือทางช่าง สามารถคิดประดิษฐ์ ตัดสินใจแก้ปัญหาของชาวบ้านได้ ผู้นำเหล่านี้ เรียกว่า ปราชญ์ชาวบ้าน หรือผู้ทรงภูมิปัญญาไทย


ลักษณะของภูมิปัญญาไทย

  • 1. ภูมิปัญญาไทยมีลักษณะเป็นทั้งความรู้ ทักษะ ความเชื่อ และพฤติกรรม

  • 2. ภูมิปัญญาไทยแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ

  • 3. ภูมิปัญญาไทยเป็นองค์รวมหรือกิจกรรมทุกอย่างในวิถีชีวิตของคน

  • 4. ภูมิปัญญาไทยเป็นเรื่องของการแก้ปัญหา การจัดการ การปรับตัว และการเรียนรู้ เพื่อความอยู่รอดของบุคคล ชุมชน และสังคม

  • 5. ภูมิปัญญาไทยเป็นพื้นฐานสำคัญในการมองชีวิต เป็นพื้นฐานความรู้ในเรื่องต่างๆ

  • 6. ภูมิปัญญาไทยมีลักษณะเฉพาะ หรือมีเอกลักษณ์ในตัวเอง

  • 7. ภูมิปัญญาไทยมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อการปรับสมดุลในพัฒนาการทางสังคม



การแพทย์แผนไทย หมายถึง ปรัชญา องค์ความรู้ และวิถีปฏิบัติ เพื่อการดูแลสุขภาพ และการบำบัดรักษาโรค ความเจ็บป่วยของคนไทย แบบดั้งเดิม สอดคล้องกับขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมไทย และวิถีชีวิตคนไทย โดยวิธีการปฏิบัติของการแพทย์แผนไทย ประกอบด้วยการใช้สมุนไพร หัตถบำบัด การรักษากระดูกแบบดั้งเดิม การใช้พุทธศาสนา หรือพิธีกรรม เพื่อดูแลรักษาสุขภาพจิต ธรรมชาติบำบัด ซึ่งได้จากการสั่งสม ถ่ายทอดประสบการณ์อย่างเป็นระบบ โดยการบอกเล่า การสังเกต การบันทึก และการศึกษาผ่านสถาบันการศึกษาด้านการแพทย์แผนไทย

การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค

       การสร้างเสริมสุขภาพ ป็นการปฏิบัติตนทีส่งผลให้เกิดสุขภาพทีดีทังทางร่างกายและทางจิตใจ ให้มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงมีการเจริญเติบโตอย่างเหมาะสมและปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ
       แนวทางในการสร้างเสริมสุขภาพ

1. ดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย
2. การโภชนาการ ทั้งอาหารและน้ำ
3. การออกกำลังกาย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ครั้งละ 30-60 นาที ควรเลือกกิจกรรมให้เหมาะสมกับวัยและสุขภาพ
4. การพักผ่อน
5. การส่งเสริมสุขภาพจิต ผ่อนคลายความตึงเครียด มองโลกในแง่ดี ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล
    มีอารมณ์ขัน
6. การตรวจสุขภาพประจำปี (30 ปีขึ้นไป) เพื่อ 
    - วัดความดันโลหิต
     - วัดปริมาณไขมันในเลือด   
     - วัดกรดยูริคในเลือด หาโรคต่างๆ
 
     - ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

แนวทางในการป้องกันโรค
่้    1. การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค เช่น การฉีดวัคซีน
     2. การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะหรือแพร่พันธุ์ของเชื้อโรค
     3. อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน

นายสรวิชญ์ ทองพัฒน์ ม.6/3 เลขที่ 25

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น