My Details

วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

จัดทำโดย



นายสรวิชญ์     ทองพัฒน์


ชั้น ม.6/3     เลขที่  25




ระบบต่อมไร้ท่อ



        ผลิตฮอร์โมนและลำเลียงสารตามกระแสเลือดสู่อวัยวะเป้าหมาย และต้องมีปริมาณพอดีกับร่างกายและมีฤทธิ์มากพอที่จะให้เกิดพฤติกรรมต่างๆ
1. ต่อมใต้สมอง ขนาดเล็กอยู่ใต้สมอง เป็นศูนย์ควบคุมใหญ่ของร่างกาย
2. ต่อมหมวกไต ชั้นในสร้างฮอร์โมน อะดรีนาลิน กระตุ้นร่างกายให้พร้อม ชั้นนอกสร้างฮอร์โมนควบคุมการเผาผลาญอาหาร และควบคุมการดูดเกลือที่ไต
3. ต่อมไทรอยด์ ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกายให้เหมาะสม
4. ต่อมพาราไทรอยด์ ควบคุมปริมาณแคลเซียมในเลือดและรักษาความเป็นกรด-ด่างในร่างกายให้เหมาะสม
5. ต่อมที่อยู่ในตับอ่อน สร้างฮอร์โมนอินซูลินเพื่อควบคุมปริมาณน้ำตาลของร่างกาย
6. รังไข่ (เพศหญิง) และอัณฑะ (เพศชาย) >>> ดูในระบบสืบพันธุ์
7. ต่อมไทมัส ควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย






การบำรุงรักษาระบบต่อมไร้ท่อ

1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่                                2. ดื่มน้ำประมาณ 6 – 8 แก้วต่อวัน
3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ                                                4. ลดปริมาณเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
5. หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อระบบต่อมไร้ท่อ
6. พักผ่อนให้พอ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดเชิงบวกมากๆ


ระบบสืบพันธุ์

เป็นระบบที่เกี่ยวกับการเพิ่มจำนวนสิ่งมีชีวิตให้มากขึ้น เพื่อทดแทนสิ่งมีชีวิตรุ่นเก่าที่ตายไปให้ดำรงเผ่าพันธุ์ไว้ได้


              
                อวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย
1. อัณฑะ รูปร่างคล้ายไข่ ทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิ และฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน เพื่อควบคุมลักษณะต่างๆของเพศชาย
2. ถุงหุ้มอัณฑะ ควบคุมอุณหภูมิให้พอเหมาะในการสร้างตัวอสุจิ
3. หลอดเก็บตัวอสุจิ เก็บตัวอสุจิที่โตเต็มที่ก่อนส่งไปหลอดนำตัวอสุจิ
4. หลอดนำตัวอสุจิ ลำเลียงตัวอสุจิไปต่อมสร้างน้ำเลี้ยงตัวอสุจิ
5. ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ สร้างอาหารเลี้ยงตัวอสุจิ และสร้างของเหลวผสมให้เกิดสภาพเหมาะสม
6. ต่อมลูกหมาก หลั่งสารฤทธิ์ด่างอ่อนๆเข้าในท่อปัสสาวะเพื่อให้เกิดสภาพเหมาะสมกับตัวอสุจิ
7. ต่อมคาวเปอร์ หลั่งสารไปหล่อลื่นท่อปัสสาวะขณะเกิดการกระตุ้นทางเพศ ทำให้ตัวอสุจิเคลื่อนที่เร็ว




                อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง
1. รังไข่ ผลิตไข่โดยไข่จะสุกเดือนละ 1 ใบจากรังไข่แต่ละข้างสลับกัน และสร้างฮอร์โมนเอสโทรเจน ควบคุมช่องคลอด และลักษณะต่างๆของเพศหญิง และโพรเจสเทอโรน ควบคุมการเจริญของมดลูก
2. ท่อนำไข่ เป็นทางผ่านของไข่ที่ออกจากรังไข่เข้าสู้มดลูก โดยปลายเปิดใกล้รังไข่บุด้วยเซลล์มีขนสั้นๆพัดไข่ให้เข้าท่อนำไข่
3. มดลูก เป็นโพรงผนังกล้ามเนื้อเรียบหนา ยืดหดได้มากเป็นพิเศษ มีโครงสร้าง 3ชั้น ชั้นนอกเป็นเยื่อบางๆ ชั้นกลางเป็นกล้ามเนื้อเรียบหนา ขยายตัวได้มากเวลาตั้งครรภ์ ชั้นในสุดเป็นเยื่อบุมดลูกเป็นที่ฝังตัวของไข่ที่ผสมแล้ว
4. ช่องคลอด เป็นทางผ่านของตัวอสุจิเข้ามดลูก และทางออกของทารกเมื่อครบกำหนดคลอด

การดูแลรักษาระบบสืบพันธุ์
1. ดูแลร่างกายให้แข็งแรง                                                                2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
3. งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์                                                          4. พักผ่อนให้เพียงพอ
5. ทำความสะอาดร่างกายสม่ำเสมอ                                                6. ใส่เสื้อผ้าสะอาด ไม่อับชื้นและรัดแน่นเกิน
7. ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น                                                8. ไม่สำส่อนทางเพศ


ระบบประสาท

เป็นระบบที่ประกอบด้วยสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาททั่วร่างกาย ทำหน้าที่ร่วมกันในการควบคุมการทำงาน และการรับรู้ความรู้สึก อารมณ์ และความทรงจำต่างๆ โดยมีสมองและไขสันหลังเป็นศูนย์กลางในการคอยรับการกระตุ้นจากสิ่งเร้าต่างๆผ่านเส้นประสาทที่กระจายทั่วร่างกาย



องค์ประกอบของระบบประสาท
1. ระบบประสาทส่วนกลาง
สมอง มีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 1.4 กิโลกรัม แบ่งได้ 2 ชั้น คือ ชั้นนอก มีสีเทาเรียกว่า grey matter เป็นที่รวมของเซลล์ระบบประสาท และแอกซอนชนิดไม่มีเยื่อหุ้ม ส่วนชั้นในมีสีขาวเรียกว่า white matter เป็นส่วนของใยประสาทที่ออกจากเซลล์ประสาท ทั้งนี้นอกจากสมองจะเป็นที่รวมของใยประสาทควบคุมอวัยวะต่างๆแล้ว สมองยังเป็นศูนย์กลางระบบประสาททั้งหมดด้วย แบ่งได้ 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ 
1. สมองส่วนหน้า
ซีรีบรัม มีขนาดใหญ่สุด มีรอยหยักเป็นจำนวนมาก ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ ความสามารถต่างๆ เป็นศูนย์การทำงานของกล้ามเนื้อ
ทาลามัส อยู่เหนือไฮโปทาลามัส เป็นสถานีถ่ายทอดกระแสประสาทเพื่อส่งไปจุดต่างๆในสมอง รับรู้และตอบสนองความรู้สึกเจ็บปวด
ไฮโปทาลามัส เป็นศูนย์กลางของระบบประสาทอัตโนมัติ และสร้างฮอร์โมนเพื่อควบคุมการผลิตฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองซึ่งจะทำการควบคุมสมดุลของปริมาณน้ำและสารละลายในเลือด และยังเกี่ยวกับการควบคุมอุณหภูมิร่างกาย

2. สมองส่วนกลาง ต่อจากสมองส่วนหน้า เป็นสถานีรับส่งประสาท ระหว่างสมองส่วนหน้ากับส่วนท้ายและส่วนหน้ากับนัยน์ตาทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของลูกตา

3. สมองส่วนท้าย
                                ซีรีเบลลัม ควบคุมระบบกล้ามเนื้อให้สัมพันธ์กัน และควบคุมการทรงตัวของร่างกาย
                                พอนส์ ควบคุมการทำงานบางอย่างของร่างกาย เช่น การเคี้ยวอาหาร การหายใจ
                                เมดัลลา ออบลองกาตา ต่อกับไขสันหลัง เป็นทางผ่านของกระแสประสาทระหว่างสมองกับไขสันหลัง เป็นศูนย์กลางการควบคุมการทำงานเหนืออำนาจจิตใจ เช่นการเต้นของหัวใจ
ไขสันหลัง มีแขนงเส้นประสาทแตกออกจากข้อสันหลังมากมาย มีเยื่อหุ้ม 3 ชั้น ทำหน้าที่รับกระแสประสาทจากส่วนต่างๆของร่างกายส่งไปยังสมอง ควบคุมปฏิกิริยารีเฟลกซ์ (ปฏิกิริยาตอบสนองกะทันหันโดยไม่ต้องรอคำสั่งจากสมอง)

2. ระบบประสาทส่วนปลาย
1. เส้นประสาทสมอง มี12 คู่ มาจากสมองผ่านรูต่างๆของกะโหลก ไปเลี้ยงบริเวณลำคอ และศีรษะ
2. เส้นประสาทไขสันหลัง มี 31 คู่ ออกจากไขสันหลังเป็นช่วงๆ ไปสู่ร่างกาย
3. ประสาทระบบอัตโนมัติ ควบคุมการทำงานของอวัยวะนอกอำนาจจิตใจ มีศูนย์กลางอยู่ในก้านสมอง ทำงานประสานกับฮอร์โมนจากระบบต่อมไร้ท่อ



การบำรุงรักษาระบบประสาท

1. ไม่ให้เกิดการกระแทกบริเวณศีรษะ                           
2.  ป้องกันไม่ให้เกิดโรคทางสมอง
3. เลี่ยงยาต่างๆที่มีผลต่อสมอง และยาเสพย์ติด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
4. ผ่อนคลายความเครียด
5. รับประทานอาหารที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะพวกที่มีวิตามินบี 1 สูง


หลักการของกระบวนการสร้างเสริม และดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย

1. รักษาอนามัยส่วนบุคคล                                                 
2. บริโภคอาหารให้ถูกต้อง เหมาะสม
3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ                                                  
4. พักผ่อนให้เพียงพอ
5. ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสเสมอ                                       
6. หลีกเลี่ยงอบายมุข และสิ่งเสพย์ติดให้โทษ


กระบวนการสร้างเสริม และดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และต่อมไร้ท่อ

              ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยเซลล์ มีรูปร่างและขนาดที่แตกต่างกันเป็นล้านๆเซลล์ เริ่มจาก กลุ่มเซลล์ที่ทำหน้าที่เดียวกันจะรวมกันเป็น เนื้อเยื่อ จากนั้นกลุ่มเนื้อเยื่อจะรวมกันทำหน้าที่บางอย่างกลายเป็น อวัยวะ เมื่ออวัยวะหลายๆอวัยวะทำงานประสานกันจะเกิดเป็นระบบที่สำคัญต่างๆร่างกาย