My Details

วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ภูมิปัญญาไทย การแพทย์แผนไทย การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

ภูมิปัญญาไทย หมายถึง ความรู้ความสามารถ วิธีการผลงานที่คนไทยได้ค้นคว้า รวบรวม และจัดเป็นความรู้ ถ่ายทอด ปรับปรุง จากคนรุ่นหนึ่งมาสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง จนเกิดผลิตผลที่ดี งดงาม มีคุณค่า มีประโยชน์ สามารถนำมาแก้ปัญหาและพัฒนาวิถีชีวิตได้แต่ละหมู่บ้าน แต่ละชุมชนไทย ล้วนมีการทำมาหากินที่สอดคล้องกับภูมิประเทศ มีผู้นำที่มีความรู้ มีฝีมือทางช่าง สามารถคิดประดิษฐ์ ตัดสินใจแก้ปัญหาของชาวบ้านได้ ผู้นำเหล่านี้ เรียกว่า ปราชญ์ชาวบ้าน หรือผู้ทรงภูมิปัญญาไทย


ลักษณะของภูมิปัญญาไทย

  • 1. ภูมิปัญญาไทยมีลักษณะเป็นทั้งความรู้ ทักษะ ความเชื่อ และพฤติกรรม

  • 2. ภูมิปัญญาไทยแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ

  • 3. ภูมิปัญญาไทยเป็นองค์รวมหรือกิจกรรมทุกอย่างในวิถีชีวิตของคน

  • 4. ภูมิปัญญาไทยเป็นเรื่องของการแก้ปัญหา การจัดการ การปรับตัว และการเรียนรู้ เพื่อความอยู่รอดของบุคคล ชุมชน และสังคม

  • 5. ภูมิปัญญาไทยเป็นพื้นฐานสำคัญในการมองชีวิต เป็นพื้นฐานความรู้ในเรื่องต่างๆ

  • 6. ภูมิปัญญาไทยมีลักษณะเฉพาะ หรือมีเอกลักษณ์ในตัวเอง

  • 7. ภูมิปัญญาไทยมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อการปรับสมดุลในพัฒนาการทางสังคม



การแพทย์แผนไทย หมายถึง ปรัชญา องค์ความรู้ และวิถีปฏิบัติ เพื่อการดูแลสุขภาพ และการบำบัดรักษาโรค ความเจ็บป่วยของคนไทย แบบดั้งเดิม สอดคล้องกับขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมไทย และวิถีชีวิตคนไทย โดยวิธีการปฏิบัติของการแพทย์แผนไทย ประกอบด้วยการใช้สมุนไพร หัตถบำบัด การรักษากระดูกแบบดั้งเดิม การใช้พุทธศาสนา หรือพิธีกรรม เพื่อดูแลรักษาสุขภาพจิต ธรรมชาติบำบัด ซึ่งได้จากการสั่งสม ถ่ายทอดประสบการณ์อย่างเป็นระบบ โดยการบอกเล่า การสังเกต การบันทึก และการศึกษาผ่านสถาบันการศึกษาด้านการแพทย์แผนไทย

การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค

       การสร้างเสริมสุขภาพ ป็นการปฏิบัติตนทีส่งผลให้เกิดสุขภาพทีดีทังทางร่างกายและทางจิตใจ ให้มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงมีการเจริญเติบโตอย่างเหมาะสมและปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ
       แนวทางในการสร้างเสริมสุขภาพ

1. ดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย
2. การโภชนาการ ทั้งอาหารและน้ำ
3. การออกกำลังกาย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ครั้งละ 30-60 นาที ควรเลือกกิจกรรมให้เหมาะสมกับวัยและสุขภาพ
4. การพักผ่อน
5. การส่งเสริมสุขภาพจิต ผ่อนคลายความตึงเครียด มองโลกในแง่ดี ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล
    มีอารมณ์ขัน
6. การตรวจสุขภาพประจำปี (30 ปีขึ้นไป) เพื่อ 
    - วัดความดันโลหิต
     - วัดปริมาณไขมันในเลือด   
     - วัดกรดยูริคในเลือด หาโรคต่างๆ
 
     - ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

แนวทางในการป้องกันโรค
่้    1. การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค เช่น การฉีดวัคซีน
     2. การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะหรือแพร่พันธุ์ของเชื้อโรค
     3. อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน

นายสรวิชญ์ ทองพัฒน์ ม.6/3 เลขที่ 25

วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

มารยาทในการเต้นลีลาศ


การเตรียมตัว
1. อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด กำจัดกลิ่นต่าง ๆ ที่น่ารังเกียจ เช่น กลิ่นปาก กลิ่นตัว เป็นต้น
2. แต่งกายให้สะอาด ถูกต้อง และเหมาะสมตามกาละเทศะ ซึ่งจะเป็นหารสร้างความมั่นใจในบุคลิกภาพของตนเอง
3. ควรใช้เครื่องสำอางที่มีกลิ่นไม่รุนแรงจนสร้างความรำคาญให้กับผู้ที่อยู่ใกล้ชิด หรือกับคู่ลีลาศของตน
4. มีการเตรียมตัวล่วงหน้าโดยการฝึกซ้อมลีลาศในจังหวะต่าง ๆ เพื่อสร้างความมั่นใจในการลีลาศ
5. สุภาพบุรุษจะต้องให้เกียรติสุภาพสตรีและบุคคลอื่นในทุกสถานการณ์ และจะต้องไปรับสุภาพสตรีที่ตนเชิญไปร่วมงาน
6. ไปถึงบริเวณงานให้ตรงตามเวลาที่ระบุได้ในบัตรเชิญ

ก่อนออกลีลาศ
1. พยายามทำตัวให้เป็นกันเอง และสร้างความสนิทสนมคุ้นเคยกับเพื่อนใหม่ แนะนำเพื่อนหญิงของตนให้บุคคลอื่นรู้จัก (ถ้ามี)
2. ไม่ดื่มสุรามากจนครองสติไม่อยู่ ถ้ารู้สึกตัวว่าเมามาก ไม่ควรเชิญสุภาพสตรีออกลีลาศ
3. ไม่ควรเชิญสุภาพสตรีที่ไม่รู้จักออกลีลาศ ยกเว้นจะได้รับการแนะนำให้รู้จักกันเสียก่อน
4. สุภาพบุรุษควรแน่ใจว่าสุภาพสตรีที่ตนเชิญออกลีลาศ สามารถลีลาศจังหวะนั้น ๆ ได้หากไม่แน่ใจควรสอบถามก่อน
5. สุภาพบุรุษควรเชิญสุภาพสตรีออกลีลาศด้วยกริยาที่สุภาพ ถ้าถูกปฏิเสธก็ไม่ควรเซ้าซี้จนเป็นที่น่ารำคาญ
6. สุภาพสตรี ไม่ควรปฏิเสธเมื่อมีสุภาพบุรุษมาขอลีลาศด้วย หากจำเป็นจะต้องปฏิเสธด้วยเหตุผลใดก็ตาม จะต้องปฏิเสธด้วย    ถ้อยคำที่สุภาพนุ่มนวล และไม่ควรลีลาศกับสุภาพบุรุษอื่นในจังหวะที่ตนได้ปฏิเสธไปแล้ว
7. ถ้าในกลุ่มสุภาพสตรีที่นั่งอยู่มีบุคคลอื่นหรือสุภาพบุรุษอื่นนั่งอยู่ด้วย จะต้องกล่าวคำขออนุญาตจากบุคคลเหล่านั้นก่อนที่จะ    เชิญสุภาพสตรีออกลีลาศ
8. ก่อนออกลีลาศควรฟังจังหวะให้ออกเสียก่อน และแน่ใจว่าสามารถลีลาศในจังหวะนั้นได้
9. ไม่ควรออกลีลาศกับคู่เพศเดียวกัน

ขณะลีลาศ
1. ขณะที่พาสุภาพตรีไปที่ฟลอร์ลีลาศ สุภาพบุรุษควรเดินนำหน้า หรือเดินเคียงคู่กันไป เพื่อให้ความสะดวกแก่สุภาพสตรี และ    เมื่อไปถึงฟลอร์ลีลาศ ควรให้เกียรติสุภาพสตรีเดินขึ้นไปบนฟลอร์ลีลาศก่อน
2. ในการจับคู่ สุภาพบุรุษต้องกระทำด้วยความนุ่มนวลสุภาพ และถูกต้องตามแบบแผนของการลีลาศ ไม่ควรจับคู่ในลักษณะที่    รัดแน่นจนเกินไป การแสดงออกที่น่าเกลียดบางอย่างพึงละเว้น เช่น การเอารัดเอาเปรียบคู่ลีลาศ เป็นต้น 
3. จะต้องลีลาศไปตามจังหวะ แบบแผน และทิศทางที่ถูกต้องไม่ย้อนแนวลีลาศ เพราะจะเป็นอุปสรรคกีดขวางการลีลาศของคู่อื่น    ถ้ามีการชนกันเกิดขึ้นในขณะลีลาศ จะต้องกล่าวคำขอโทษหรือขออภัยด้วยทุกครั้ง
4. ไม่สูบบุหรี่ เคี้ยวหมากฝรั่ง หรือของขบเคี้ยวใด ๆ ในขณะลีลาศ
5. ให้ความสนใจกับคู่ลีลาศของตน ความอบอุ่นเกิดขึ้นได้จากการยิ้มแย้มแจ่มใสหรือคำกล่าวชม ไม่แสดงอาการเบื่อหน่าย หรือ    หันไปสนใจคู่ลีลาศของคนอื่น และอย่าทำตนเป็นผู้กว้างขวางช่างพูดช่างคุยกับคนทั่วไปในขณะลีลาศ
6. ควรลีลาศด้วยความสนุกสนานร่าเริง
7. ไม่ควรพูดเรื่องปมด้อยของตนเองหรือของคู่ลีลาศ
8. ไม่ควรเปลี่ยนคู่บนฟลอร์ลีลาศ
9. ควรลีลาศในรูปแบบหรือลวดลายที่ง่าย ๆ ก่อน แล้วจึงเพิ่มรูปแบบหรือลวดลายที่ยากขึ้นตามความสามารถของคู่ลีลาศ เพราะจะทำให้คู่ลีลาศรู้สึกเบื่อหน่าย และไม่ควรพลิกแพลงรูปแบบการลีลาศมากเกินไปจนมองดูน่าเกลียด
10. ถือว่าเป็นการไม่สมควรที่จะร้องเพลงหรือแสดงออกอย่างอื่นในขณะลีลาศ หรือลีลาศด้วยท่าทางแผลง ๆ ด้วยความคึกคะนอง
11. ไม่ควรสอนลวดลายหรือจังหวะใหม่ ๆ บนฟลอร์ลีลาศ
12. ไม่ควรลีลาศด้วยลวดลายที่ใช้เนื้อที่มากเกินไป ในขณะที่มีคนอยู่บนฟลอร์เป็นจำนวนมาก
13. ในการลีลาศแบบสุภาพชน ไม่ควรแสดงความรักในขณะลีลาศ
14. การนำในการลีลาศเป็นหน้าที่ของสุภาพบุรุษ สุภาพสตรีไม่ควรเป็นฝ่ายนำ ยกเว้นเป็นการช่วยในความผิดพลาดของสุภาพบุรุษ เป็นครั้งคราวเท่านั้น
15. การให้กำลังใจ การให้เกียรติ และการยกย่องชมเชยด้วยใจจริง จะช่วยให้คู่ลีลาศเกิดความรู้สึกอบอุ่นและเชื่อมั่นในตนเองยิ่งขึ้น คู่ลีลาศที่ดี จะต้องช่วยปกปิดความลับหรือปัญหาที่เกิดขึ้นและมองข้ามจุดอ่อนของคู่ลีลาศ
16. ไม่ควรผละออกจากคู่ลีลาศโดยกระทันหัน หรือก่อนเพลงจบ

เมื่อสิ้นสุดการลีลาศ
1. สุภาพบุรุษต้องเดินนำหรือเดินเคียงคู่กันลงจากฟลอร์ลีลาศ และนำสุภาพสตรีไปส่งยังที่นั่งให้เรียบร้อย พร้อมทั้งกล่าวคำ  ขอบคุณสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษอื่นที่นั่งอยู่ด้วย
2. เมื่อถึงเวลากลับ ควรกล่าวคำชมเชยและขอบคุณเจ้าภาพ (ถ้ามี)
3. สุภาพบุรุษจะต้องพาสุภาพสตรีที่ตนเชิญเข้างาน ไปส่งยังที่พัก


วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

จัดทำโดย



นายสรวิชญ์     ทองพัฒน์


ชั้น ม.6/3     เลขที่  25




ระบบต่อมไร้ท่อ



        ผลิตฮอร์โมนและลำเลียงสารตามกระแสเลือดสู่อวัยวะเป้าหมาย และต้องมีปริมาณพอดีกับร่างกายและมีฤทธิ์มากพอที่จะให้เกิดพฤติกรรมต่างๆ
1. ต่อมใต้สมอง ขนาดเล็กอยู่ใต้สมอง เป็นศูนย์ควบคุมใหญ่ของร่างกาย
2. ต่อมหมวกไต ชั้นในสร้างฮอร์โมน อะดรีนาลิน กระตุ้นร่างกายให้พร้อม ชั้นนอกสร้างฮอร์โมนควบคุมการเผาผลาญอาหาร และควบคุมการดูดเกลือที่ไต
3. ต่อมไทรอยด์ ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกายให้เหมาะสม
4. ต่อมพาราไทรอยด์ ควบคุมปริมาณแคลเซียมในเลือดและรักษาความเป็นกรด-ด่างในร่างกายให้เหมาะสม
5. ต่อมที่อยู่ในตับอ่อน สร้างฮอร์โมนอินซูลินเพื่อควบคุมปริมาณน้ำตาลของร่างกาย
6. รังไข่ (เพศหญิง) และอัณฑะ (เพศชาย) >>> ดูในระบบสืบพันธุ์
7. ต่อมไทมัส ควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย






การบำรุงรักษาระบบต่อมไร้ท่อ

1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่                                2. ดื่มน้ำประมาณ 6 – 8 แก้วต่อวัน
3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ                                                4. ลดปริมาณเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
5. หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อระบบต่อมไร้ท่อ
6. พักผ่อนให้พอ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดเชิงบวกมากๆ


ระบบสืบพันธุ์

เป็นระบบที่เกี่ยวกับการเพิ่มจำนวนสิ่งมีชีวิตให้มากขึ้น เพื่อทดแทนสิ่งมีชีวิตรุ่นเก่าที่ตายไปให้ดำรงเผ่าพันธุ์ไว้ได้


              
                อวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย
1. อัณฑะ รูปร่างคล้ายไข่ ทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิ และฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน เพื่อควบคุมลักษณะต่างๆของเพศชาย
2. ถุงหุ้มอัณฑะ ควบคุมอุณหภูมิให้พอเหมาะในการสร้างตัวอสุจิ
3. หลอดเก็บตัวอสุจิ เก็บตัวอสุจิที่โตเต็มที่ก่อนส่งไปหลอดนำตัวอสุจิ
4. หลอดนำตัวอสุจิ ลำเลียงตัวอสุจิไปต่อมสร้างน้ำเลี้ยงตัวอสุจิ
5. ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ สร้างอาหารเลี้ยงตัวอสุจิ และสร้างของเหลวผสมให้เกิดสภาพเหมาะสม
6. ต่อมลูกหมาก หลั่งสารฤทธิ์ด่างอ่อนๆเข้าในท่อปัสสาวะเพื่อให้เกิดสภาพเหมาะสมกับตัวอสุจิ
7. ต่อมคาวเปอร์ หลั่งสารไปหล่อลื่นท่อปัสสาวะขณะเกิดการกระตุ้นทางเพศ ทำให้ตัวอสุจิเคลื่อนที่เร็ว




                อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง
1. รังไข่ ผลิตไข่โดยไข่จะสุกเดือนละ 1 ใบจากรังไข่แต่ละข้างสลับกัน และสร้างฮอร์โมนเอสโทรเจน ควบคุมช่องคลอด และลักษณะต่างๆของเพศหญิง และโพรเจสเทอโรน ควบคุมการเจริญของมดลูก
2. ท่อนำไข่ เป็นทางผ่านของไข่ที่ออกจากรังไข่เข้าสู้มดลูก โดยปลายเปิดใกล้รังไข่บุด้วยเซลล์มีขนสั้นๆพัดไข่ให้เข้าท่อนำไข่
3. มดลูก เป็นโพรงผนังกล้ามเนื้อเรียบหนา ยืดหดได้มากเป็นพิเศษ มีโครงสร้าง 3ชั้น ชั้นนอกเป็นเยื่อบางๆ ชั้นกลางเป็นกล้ามเนื้อเรียบหนา ขยายตัวได้มากเวลาตั้งครรภ์ ชั้นในสุดเป็นเยื่อบุมดลูกเป็นที่ฝังตัวของไข่ที่ผสมแล้ว
4. ช่องคลอด เป็นทางผ่านของตัวอสุจิเข้ามดลูก และทางออกของทารกเมื่อครบกำหนดคลอด

การดูแลรักษาระบบสืบพันธุ์
1. ดูแลร่างกายให้แข็งแรง                                                                2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
3. งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์                                                          4. พักผ่อนให้เพียงพอ
5. ทำความสะอาดร่างกายสม่ำเสมอ                                                6. ใส่เสื้อผ้าสะอาด ไม่อับชื้นและรัดแน่นเกิน
7. ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น                                                8. ไม่สำส่อนทางเพศ


ระบบประสาท

เป็นระบบที่ประกอบด้วยสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาททั่วร่างกาย ทำหน้าที่ร่วมกันในการควบคุมการทำงาน และการรับรู้ความรู้สึก อารมณ์ และความทรงจำต่างๆ โดยมีสมองและไขสันหลังเป็นศูนย์กลางในการคอยรับการกระตุ้นจากสิ่งเร้าต่างๆผ่านเส้นประสาทที่กระจายทั่วร่างกาย



องค์ประกอบของระบบประสาท
1. ระบบประสาทส่วนกลาง
สมอง มีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 1.4 กิโลกรัม แบ่งได้ 2 ชั้น คือ ชั้นนอก มีสีเทาเรียกว่า grey matter เป็นที่รวมของเซลล์ระบบประสาท และแอกซอนชนิดไม่มีเยื่อหุ้ม ส่วนชั้นในมีสีขาวเรียกว่า white matter เป็นส่วนของใยประสาทที่ออกจากเซลล์ประสาท ทั้งนี้นอกจากสมองจะเป็นที่รวมของใยประสาทควบคุมอวัยวะต่างๆแล้ว สมองยังเป็นศูนย์กลางระบบประสาททั้งหมดด้วย แบ่งได้ 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ 
1. สมองส่วนหน้า
ซีรีบรัม มีขนาดใหญ่สุด มีรอยหยักเป็นจำนวนมาก ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ ความสามารถต่างๆ เป็นศูนย์การทำงานของกล้ามเนื้อ
ทาลามัส อยู่เหนือไฮโปทาลามัส เป็นสถานีถ่ายทอดกระแสประสาทเพื่อส่งไปจุดต่างๆในสมอง รับรู้และตอบสนองความรู้สึกเจ็บปวด
ไฮโปทาลามัส เป็นศูนย์กลางของระบบประสาทอัตโนมัติ และสร้างฮอร์โมนเพื่อควบคุมการผลิตฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองซึ่งจะทำการควบคุมสมดุลของปริมาณน้ำและสารละลายในเลือด และยังเกี่ยวกับการควบคุมอุณหภูมิร่างกาย

2. สมองส่วนกลาง ต่อจากสมองส่วนหน้า เป็นสถานีรับส่งประสาท ระหว่างสมองส่วนหน้ากับส่วนท้ายและส่วนหน้ากับนัยน์ตาทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของลูกตา

3. สมองส่วนท้าย
                                ซีรีเบลลัม ควบคุมระบบกล้ามเนื้อให้สัมพันธ์กัน และควบคุมการทรงตัวของร่างกาย
                                พอนส์ ควบคุมการทำงานบางอย่างของร่างกาย เช่น การเคี้ยวอาหาร การหายใจ
                                เมดัลลา ออบลองกาตา ต่อกับไขสันหลัง เป็นทางผ่านของกระแสประสาทระหว่างสมองกับไขสันหลัง เป็นศูนย์กลางการควบคุมการทำงานเหนืออำนาจจิตใจ เช่นการเต้นของหัวใจ
ไขสันหลัง มีแขนงเส้นประสาทแตกออกจากข้อสันหลังมากมาย มีเยื่อหุ้ม 3 ชั้น ทำหน้าที่รับกระแสประสาทจากส่วนต่างๆของร่างกายส่งไปยังสมอง ควบคุมปฏิกิริยารีเฟลกซ์ (ปฏิกิริยาตอบสนองกะทันหันโดยไม่ต้องรอคำสั่งจากสมอง)

2. ระบบประสาทส่วนปลาย
1. เส้นประสาทสมอง มี12 คู่ มาจากสมองผ่านรูต่างๆของกะโหลก ไปเลี้ยงบริเวณลำคอ และศีรษะ
2. เส้นประสาทไขสันหลัง มี 31 คู่ ออกจากไขสันหลังเป็นช่วงๆ ไปสู่ร่างกาย
3. ประสาทระบบอัตโนมัติ ควบคุมการทำงานของอวัยวะนอกอำนาจจิตใจ มีศูนย์กลางอยู่ในก้านสมอง ทำงานประสานกับฮอร์โมนจากระบบต่อมไร้ท่อ



การบำรุงรักษาระบบประสาท

1. ไม่ให้เกิดการกระแทกบริเวณศีรษะ                           
2.  ป้องกันไม่ให้เกิดโรคทางสมอง
3. เลี่ยงยาต่างๆที่มีผลต่อสมอง และยาเสพย์ติด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
4. ผ่อนคลายความเครียด
5. รับประทานอาหารที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะพวกที่มีวิตามินบี 1 สูง


หลักการของกระบวนการสร้างเสริม และดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย

1. รักษาอนามัยส่วนบุคคล                                                 
2. บริโภคอาหารให้ถูกต้อง เหมาะสม
3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ                                                  
4. พักผ่อนให้เพียงพอ
5. ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสเสมอ                                       
6. หลีกเลี่ยงอบายมุข และสิ่งเสพย์ติดให้โทษ